top of page

"คืนความหวังสู่ชีวิต" ผู้ป่วย มือขาด จากการประสบอุบัติขณะทำงาน

ผู้ป่วยรายนี้กำลังอยู่ในวัยทำงานหาเลี้ยงครอบครัว ประสบอุบัติขณะทำงาน ถูกเครื่องจักร ตัด มือซ้ายขาด เห็นมือตัวเองแล้วแทบสิ้นหวังอนาคตจะอยู่อย่างไร ?

บริษัทที่ทำงาน จะให้การรักษามั้ย?

จะหาเงินที่ไหนมารักษา?

จะได้ทำงานต่อ หรือ บริษัทจะให้ลาออก เพราะทำงานไม่ได้?

ครอบครัวจะเป็นอย่างไร?

จะหาเลี้ยงชีพอย่างไร ต่อไปนี้?

โชคดี ที่ ได้มาพบกับทีมการรักษาที่ยอดเยี่ยมที่สุดของ รพ.จุฬารัตน์ครับ



มือขาด จากการประสบอุบัติขณะทำงาน
มือขาด จากการประสบอุบัติขณะทำงาน

วันนี้ ผมจะขอพูด ถึงปัจจัย หลายอย่างที่พวกเรามักจะมองข้ามไป กว่าการรักษาจะเดินทางมาจนถึงจุดที่คนไข้กลับไปใช้มือนี้ ( 7เดือนหลังจากผ่าตัด)ทำงาน ทั้งดูแลครอบครัว และประกอบอาชีพ ในที่ทำงานเดิม และไม่กลายเป็นผู้พิการที่ไปไหนก็ขาดความมั่นใจ ท่านเชื่อมั้ยครับว่า มีผู้เกี่ยวข้อง อยู่มากมาย ซึ่งต้องขอขอบคุณ ผู้คน และองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยครับ


อันดับแรก ที่เป็น จุดเริ่มต้นของความสำเร็จของการรักษานี้ก็คือ ผู้ที่นำ ผู้ป่วยมาพบทีมการรักษาที่ยอดเยี่ยมของเรา ไม่ว่า จะ ด้วยความตั้งใจ(เพราะมั่นใจในทีมของเรา )หรือ เพราะอยู่ใกล้ ที่ทำงานก็ตาม




อันดับต่อมาที่สำคัญก็คือผู้รับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดรักษาที่ยากนี้ ได้ แก่ กองทุนทดแทนผู้ประสบอันตรายจากการทำงาน กระทรวงแรงงาน และ บริษัทที่ผู้ป่วยทำงาน ร่วมกันรับผิดชอบค่ารักษา


อันดับต่อมาก็คือผู้ป่วย ที่เชื่อมั่น และปฏิบัติ ตามคำแนะนำในการดูแลมือ และ มาติดตามผลการักษา อย่างมีวินัย และความอดทน


อันดับสุดท้ายที่สำคัญ ที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้ คือ รพ.จุฬารัตน์ 3 ที่ในการสนับสนุน ในการพัฒนาทีมการรักษาดูแลผู้ป่วยที่บาดเจ็บอย่ารุนแรงอย่างเต็มที่ ตั้งแต่ระบบการรับผู้ป่วย ณ.ห้องฉุกเฉิน ( การระงับความเจ็บปวดเบื้องต้น,การประเมินสภาพผู้ป่วยทั้งตัวและประเมินระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บ)


  • ทีมเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ไปตามแผนกต่างๆใน รพ.

  • ทีมแพทย์, พยาบาลและผู้เกี่ยวข้อง ในห้องผ่าตัด และห้องสังเกตุ อาการในระยะพักฟื้น หลังจากผู้ป่วยออกจากห้องผ่าตัด

  • ทีมดูผู้ป่วยที่หอผู้ป่วย( ดูการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงมือที่ขาดหลังจากการต่ออวัยวะ) ตลอดเวลา 8-9 วันที่นอนพักฟื้นใน รพ.

  • ทีมติดตามผลการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก ในการประสานงาน ทั้งกับตัวผู้ป่วย และการให้ข้อมูลที่สำคัญกับบริษัท และ จนท.กองทุนทดแทนผู้ประสบอันตรายจากการทำงานในสถานประกอบการที่ร่วมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล






เห็นมั้ยครับว่ามีผู้เกี่ยวเป็นจำนวนไม่น้อย กว่าเราจะได้ผลการรักษาที่ยอดเยี่ยมครับ


นพ.วิชิต ศิริทัตธำรง

พญ.สายชล ว่องตระกูล

นพ.สำราญ ภูฆัง

นพ.พิเชฐ แสงทองศิลป์

นพ.ทรงศักดิ์ ศุภโชคอวยชัย

พญ.ณัชชา อริยะประกาย

นพ.วศพล ปิติเกื้อกูล

รพ.จุฬารัตน์ 3 อินเตอร์

68 views0 comments

Commentaires


LINE_SOCIAL_Circle.png
bottom of page